วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)

ความหมายกลุ่มปัญญานิยม
                ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง
                 ทฤษฎีปัญญานิยมนี้  เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้ว่า เป็นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของ มนุษย์ด้วย

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม มีดังต่อไปนี้
1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท  คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
2. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ของ ออซูเบล (Ausubel)
5.  ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน  (Kurt Lewin) ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์ และได้แยกตัวออกมาในภายหลัง
6. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
7. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony)

ทฤษฎี การเรียนรู้ต่างๆ ในกลุ่มปัญญานิยม ที่กล่าวมานั้นมีรายละเอียดของทฤษฎีและการประยุกต์นำทฤษฎีเหล่านั้นมาใช้ใน การจัดการเรียนการสอน ดังนี้

ทฤษฏีการเรียนรู้ของ กลุ่ม เกสตัลท์ (Gestalt Theory)
กลุ่ม เกสตัลท์นี้เริ่มก่อตั้งในประเทศเยอรมันนี ราวปี ค.ศ. 1912 ในระยะใกล้เคียงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมกำลังแพร่หลาย ได้รับความนิยมอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำของกลุ่มคือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์,   วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์, เคิร์ท  คอฟฟ์กา, และ เคิร์ท เลวิน ซึ่งต่อมาภายหลัง เลอวิน ได้นำเอาทฤษฎีของกลุ่มเกสตัลท์นี้มาปรับปรุงดัดแปลงเป็นทฤษฎีใหม่ คือทฤษฎีสนาม  
                เกสตัลท์เป็นคำศัพท์ในภาษาเยอรมัน มีความหมายว่า แบบ แผน หรือ รูปร่าง (form or pattern) ซึ่งต่อมาในความหมายของทฤษฎีนี้ หมายถึง ส่วนรวม หรือ ส่วน ประกอบทั้งหมด สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะความคิดหลักของกลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีย่อมเกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่างๆ มารวมกัน ให้เกิดการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนและจึงแยกวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้ ส่วนย่อยทีละส่วต่อไป  ถ้ามนุษย์หรือสัตว์มองภาพพจน์ของสิ่งเร้าไม่เห็นโดย ส่วนรวมแล้ว จะไม่เข้าใจหรือเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

กฎการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ สรุปได้ดังนี้
                1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์
                2. บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
                3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ
                                3.1) การรับรู้ (perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้า สู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบ สนองออกไปตามที่สมอง / จิต ตีความหมาย
                                3.2) การหยั่งเห็น (Insight) เป็น การค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น
                4. กฎการจัดระเบียบการรับรู้  ของเกสตัลท์มีดังนี้
                                4.1 กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์ เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้เพราะการใช้ ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน
                                4.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
                                4.3 กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
                                4.4 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้า นั้น
                                4.5 กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน หรือเป็นเหตุผลเดียวกัน
                                4.6 บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นใน ลักษณะเป็นภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะเปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น
                                4.7 การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาดบิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมาจากการจัดกลุ่มลักษณะสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการลวงตาเช่น เส้นตรงในภาพ ก. ดูสั้นกว่าเส้นตรงในภพ ข. ทั้งๆ ที่ยาวเท่ากัน

5. การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (Insight) โคห์เลอร์ ได้สังเกตการเรียนรู้ของลิงในการทดลอง ลิงพยายามที่จะเอากล้วยที่ซึ่งแขวนอยู่สูงเกินกว่าจะเอื้อมถึง ในที่สุดลิงก็เกิดความคิดที่จะเอาไม่ไปสอยกล้วยที่แขวนเอามากินได้ สรุปได้ว่าลิงมีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น การหยั่งเห็นเป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลัน ทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้นในการเชื่อมโยง ประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญ ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็คือประสบการณ์ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขึ้นได้มากเช่นกัน

หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามแนวคิดจากกลุ่มเกสตัลท์
1. กระบวน การคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ การส่งเสริมกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้
2. การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อย จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3. การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริ เริ่มได้มากขึ้น
4. การจัดประสบการณ์ใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
5. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ดีคือ การจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
6. ในการสอนครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอการสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ครูสามารถเสนอ เนื้อหาแต่เพียงบางส่วนได้ หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์
7. การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกันจะช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ดี และรวดเร็ว
8. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น

ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
เอ็ดเวิร์ด ซี. ทอลแมน (Edward C. Taolman) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้เสนอถึงทฤษฎีเครื่องหมาย หรือ ทฤษฎีความคาดหมาย (Expectancy Theory) ซึ่งปรับปรุงมาจากทฤษฎีการแสดงพฤติกรรมสู่จุดหมาย (Purposive behaviorism) โดย ทอลแมน กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุด หมายปลายทางทฤษฎีของทอลแมนสรุปได้ดังนี้
1. ในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล (reward expectancy) หากรางวัลที่คาดว่าจะได้รับไม่ตรงตามความพอใจและความต้องการ ผู้เรียนจะพยายามแสวงหารางวัลหรือสิ่งที่ต้องการต่อไป
2.  ขณะที่ผู้เรียนจะพยายามไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ (place learning) และสิ่งอื่นๆที่เป็นเครื่องชี้ตามไปด้วย
3. ผู้ เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำๆ ในทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของตน
4. การ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมหรือจำเป็นจึงจะ แสดงออก (latent learning)


หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีเครื่องหมาย
1. การสร้างแรงขับ และ / หรือแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนไปให้ถึงจุดมุ่ง หมายที่ต้องการ
2. ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
3. การปรับเปลี่ยนสถานการณ์การเรียนรู้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนได้
4. การเรียนรู้บางอย่างอาจไม่สามารถแสดงออกได้ในทันที การใช้วิธีการทดสอบหลายๆวิธี ทดสอบบ่อยๆ หรือติดตามผลระยะยาว จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในลักษณะนี้  

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติ ปัญญา  (Intellectual Development Theory)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการ อย่างไร เขาอธิบายว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาไปสู่ ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54)
                                                1)  พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
                                                1.1 ) ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว  (Sensori-Motor  Stage)  ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี  พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่  เช่น  การไขว่คว้า  การเคลื่อนไหว  การมอง  การดู  ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ  เด็กสามารถแก้ปัญหาได้  แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด  เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้  มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  เช่น  สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ  และสายตา  เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ  เป็นการเลียนแบบ  พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ  เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
                                                1.2 )  ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational  Stage)  ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี  แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น  คือ
                                                                                                1.  ขั้นก่อนเกิดสังกัป  (Preconceptual  Thought)  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี  เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น   สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์  หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน  แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่  เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่  และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น  ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้  จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก  นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ  ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น  เช่น  เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน  ชื่อเหมือนกัน  จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด  แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่  แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก
                                                                2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้  นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล  (Intuitive  Thoughtเป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก  อายุ 4-7 ปี  ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ  รวมตัวดีขึ้น  รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ  เข้าใจความหมายของจำนวนเลข  เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์  แต่ไม่แจ่มชัดนัก  สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา  โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
                                                                        1.3 )   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete  Operation  Stage)  ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี  พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้  เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล  รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ  ที่เป็นรูปธรรมได้  สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ  โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก  หรือปริมาตรเท่าเดิม  สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย  ส่วนรวม  ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ  ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น  สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์  สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
                                                                        1.4 )ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal  Operational  Stage)  นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี  ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด  คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่  สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์  สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี  และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน  สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน  หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต  ซึ่งเพียเจต์  ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม  มี 6  ขั้น  ได้แก่
                        1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute  Differences)  เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
                         2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)  ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ  มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน  เช่น  มี-ไม่มี   หรือ เล็ก-ใหญ่
                                    3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete  Degree)  เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย  เช่น  ปานกลาง  น้อย
                        4.  ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation)  เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ  เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้       
                        5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function)  ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
                        6.  ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact  Compensation)  เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน        
                2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3. กระบวนการทางสติปัญญา มีลักษณะดังนี้
                                3.1 การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์เรื่องราวและข้อมูลต่างๆเข้ามาสะสม เก็บไว้ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อไป
                                3.2 การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือกระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากัน เป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
                                3.3 การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

                หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์
                1. ในการพัฒนาเด็ก ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กและจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสม กับพัฒนาการนั้นไม่ควรบังคับให้เด็กเรียนในสิ่งที่ยังไม่พร้อม หรือยากเกินพัฒนาการตามวัยของตน เพราะจะก่อให้เกิดเจตคติที่ไม่ดีได้
                                1.1 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัยของตนสามารถช่วยให้ เด็กพัฒนาไปสู่พัฒนาการขั้นสูงได้
                                1.2 เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน ถึงแม้อายุจะเท่ากัน แต่พัฒนาการอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการ ของเขา
                                1.3 ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจลักษณะต่างๆ ได้ดีขึ้น แม้ในพัฒนาการช่วงความคิดแบบรูปธรรมเด็กจะสามารถสร้างภาพในใจได้ แต่การสอนที่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรม จะช่วยให้เด็กเข้าใจแจ่มชัดขึ้น
                2. การให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ทราบลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก
                3. ในการสอนเด็กเล็กๆ เด็กจะรับรู้ส่วนรวม (whole) ได้ดีกว่าส่วนย่อย (part) ดังนั้นครูจึงควรสอนภาพรวมก่อนแล้วจึงแยกสอนที่ละส่วน
                4. ในการสอนสิ่งใดให้กับเด็ก ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์มาก่อน แล้วจึงเสนอสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเก่า การกระทำเช่นนี้ช่วยให้กระบวนการซึมซับและการจัดระบบความรู้ของเด็กเป็นไป ด้วยดี
                5. การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ช่วยให้เด็กดูดซึมข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กอันเป็นการส่ง เสริมพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติ ปัญญาของบรุนเนอร์
                บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจาก
เพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของบรุนเนอร์มีดังนี้
                ทฤษฎีการเรียนรู้
                1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติ ปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
                2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิด ประสิทธิภาพ
                3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
                4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน รู้
                5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ใหญ่ๆ คือ
                             5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
                             5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพ แทนของจริงได้
                             5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
                6. การเรียนรู้เกิดได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถสร้างหรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

หลักการจัดการศึกษา / การสอนตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
                1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
                2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
                3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
                4. ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
                5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
                6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                7. การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
                8. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถช่วยให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ทฤษฎีการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)
ออซูเบล (Ausubel, David 1963) เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยมที่แตกต่างจากเพียเจต์และ
บรูเนอร์ เพราะออซูเบลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ได้ ทุกชนิด
ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิม ที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจ และมีความหมายการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เรียนรวมหรือเชื่อม โยง(Subsumme)   สิ่งที่เรียนรู้ใหมหรือข้อมูลใหม่ซึ่งอาจจะเป็นความคิดรวบยอด(Concept) หรือความรู้ที่ได้รับใหม่ในโครงสร้างสติปัญญากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมอง ของผู้เรียนอยู่แล้ว ทฤษฎีของออซูเบลบางครั้งเรียกว่า "Subsumption Theory"
ออซูเบลให้ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( Mearningful learning) ว่า เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต ออซูเบลได้ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายเกี่ยวกับ พุทธิปัญญา
                ออซูเบล เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อนการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบความคิด (Advance Organizer) เป็น เทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของ ครู โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่มีมาก่อนกับข้อมูลใหม่ หรือความคิดรวบยอดใหม่ ที่จะต้องเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่ไม่ต้องท่องจำ หลักการทั่วไปที่นำมาใช้ คือ
- การจัด เรียบเรียง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้ ออกเป็นหมวดหมู่
- นำเสนอกรอบ หลักการกว้างๆ ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่
- แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อที่สำคัญ และบอกให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อสำคัญที่เป็นความคิดรวบ
ยอดใหม่ที่จะต้องเรียน
เขาถือว่า Advance Organizer มี ความสำคัญมากเพราะเป็นวิธีการสร้างการเชื่อมช่องว่างระหว่างความรู้ที่ผู้ เรียนได้รู้แล้ว (ความรู้เดิม) กับความรู้ใหม่ที่ได้รับ ที่จำเป็นจะต้อง เรียนรู้เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจเนื้อหาใหม่ได้ดี และจดจำได้ได้ดีขึ้น ฉะนั้นผู้สอนควรจะใช้เทคนิค Advance Organizer ช่วยผู้เรียนในการเรียนรู้ทั้งประเภท การรับอย่างมีความหมายและการค้นพบอย่างมีความหมาย
ออซูเบล  ให้ความสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของ มนุษย์ และได้แบ่งการรับรู้ออกเป็น 4 ประเภท คือ
     1. การเรียนรู้โดยเรียนรู้อย่างมีความหมาย
     2. การเรียนรู้โดยการท่องจำ
     3. การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย
     4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำ
                การเรียนรู้ทั้ง 4 รูปแบบนี้ ออซูเบล  ได้เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และพยายามที่จะสร้างหลักการเพื่ออธิบายกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว หลักการดังกล่าวนี้ Ausubel เชื่อ ว่าจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยเรียกหลักการดังกล่าวนี้ว่า การจัดวางโครงสร้างเนื้อหา หลักการสำคัญประการหนึ่งที่นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มิได้กล่าวถึง คือ การสร้างความตั้งใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน ความรู้ต่างๆ จะต้องถูกจัดให้มีระบบและสอดคล้องกับการเรียนรู้ โครงสร้างของเนื้อหาควรต้องได้รับการจัดเตรียม หรือแบ่งแยกออกเป็นหมวดหมู่ และเห็นความสัมพันธ์ในรูปแบบที่กว้างก่อนที่จะขยายให้เห็นความคิดรวบยอดใน ส่วนย่อย

สรุปการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Mearningful learning) ของออซูเบล
เป็น ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา แต่จะแตกต่างจากทฤษฎีของ เพียเจต์ ที่เน้นความสำคัญของผู้เรียน และของบรูเนอร์ที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยการค้นพบด้วยตนเอง(Discovery)
                สำหรับออซูเบลจะสนับสนุนทั้ง Discovery และ Expository technique ซึ่งเป็นการสอนที่ครูให้หลักเกณฑ์ และผลลัพธ์ ออซูเบลมีความเห็นว่าสำหรับเด็กโต (อายุเกิน11หรือ 12 ปี)นั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Expository technique น่าจะเหมาะสมกว่าเพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราว คำอธิบายต่างๆได้




Kurt Lewin นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน (1890 - 1947) มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
เช่นเดียวกับกลุ่มเกสตัลท์ทีว่าการเรียนรู้ เกิดขึนจากการจัดกระบวนการรับรู้ และ
กระบวนการคิดเพือการแก้ไขปัญหาแต่เขาได้นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วม
อธิบายพฤติกรรมมนุษย์


ทฤษฎีการเรียนรู้ของทฤษฎีสนาม  สามารถสรุปได้ดังนี้
1. พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตน จะมีพลังเป็น + สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังงานเป็น ในขณะใดขณะหนึ่งทุกคนจะมี โลก หรือ อวกาศชีวิต (life space) ของตน ซึ่งจะประกอบไปด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) อันได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา
Kurt Lewin เสนอ แนวคิดทฤษฎีสนามว่า หมายถึง ความสามารถที่จะวิเคราะห์แรงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสภาวะการที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง เป็นความพยายามที่จะให้กลุ่มเกิดการเปลี่ยน โดยแรงต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อกันและกันจากแนวความคิดของ Lewin เชื่อว่า พฤติกรรมเป็นผลของแรง 2 ประเภท ซึ่งมีบทบาทตรงข้างกัน คือ แรงต้าน และ แรงเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การนำทฤษฎีสนามไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมมากขึ้น การจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ใช้ 3 กลวิธี ดังนี้
1. เพิ่มขนาดของแรงเสริม
2. ลดขนาดของแรงต้าน
3. เพิ่มขนาดของแรงเสริม ขณะเดียวกันก็ลดขนาดของแรงต้าน

Lewin ได้ เสนอแนวทางเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ละลายพฤติกรรมเดิม
2. การวิเคราะห์ปัญหา
3. การตั้งเป้าหมาย
4. การมีพฤติกรรมใหม่
5. การทำให้พฤติกรรมใหม่นั้นคงอยู่


การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้
1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนทีเป็นกันเอง และมีอิสระทีจะให้ผู้เรียนแสดง
ความคิดเห็นอย่างเต็มทีทังทีถูก และผิด เพือให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของ
ข้อมูล และเกิดการหยังเห็น
2. เปิ ดโอกาสให้มีการอภิปรายในชันเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี
2.1. เน้นความแตกต่าง
2.2 กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
2.3. กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
2.4. กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
2.5. กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่ มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความ
สอดคล้องต่อเนื่องกัน
4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจ
ของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรจัดโอกาส
ให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
5. บุคลิกภาพของครู และความสามารถในการถ่ายทอดจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธา และครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้

สรุป

 ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม
เวสท์และคณะ (West and Others, 1991) ได้เสนอถึงความแตกต่างระหว่างทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยมไว้ดังนี้
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในเรื่องของพฤติกรรมหรือการกระทําภายนอกซึ่ง
สามารถสังเกตได้ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นถึงสิ่งที่อยู่ภายในสติปัญญา
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งชี้ความสําคัญขององค์ประกอบย่อย ๆ แต่ละส่วนจากส่วน
หนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งและจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือวัตถุประสงค์รวมในที่สุด
ในทางกลับกันนั้น ทฤษฎีปัญญานิยมพยายามชี้ในภาพรวมเป็นหลัก จากภาพรวมหรือวัตถุ
ประสงค์รวมไปสู่ส่วนประกอบและตามด้วยการมองจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือ
วัตถุประสงค์รวมอีกครั้งหนึ่ง
3. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถจับต้องได้ ในขณะที่ทฤษฎี
ปัญญานิยมมุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งไม่สามารถจับต้องได้
4. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ของมนุษย์ในลักษณะ ของ
สิ่งที่มีอยู่แล้วและรอให้มนุษย์ค้นพบและเรียกกลับมาใช้ใหม่ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมีความ
เชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ในลักษณะของสิ่งที่มนุษย์จําเป็นต้อง สร้างให้เกิดขึ้นและหากต้องนํา
ความรู้กลับมาใช้อีกก็จําเป็นจะต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่
5. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเปรียบเทียบกับจิตใจมนุษย์เป็นเสมือนโรงงานประกอบชิ้น
ส่วนต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงความเชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการ ประกอบขึ้นของ
มนุษย์นั่นเอง ไม่มีความสลับซับซ้อน ชิ้นส่วนในการประกอบเป็นอย่างไรผลผลิตที่ได้ก็จะเป็น
เช่นนั้น ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมเปรียบเทียบจิตใจเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ซี่งหมายถึง ความ
เชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการประมวลผลภายในซึ่ง มีการทํางานที่สลับซับ
ซ้อนและยากแก่การทําความเข้าใจ
6. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในผลลัพธ์ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นในกระบวนการ






ตารางสรุปความแตกต่างของแนวความคิดระหว่างพฤติกรรมนิยม และปัญญานิยม

พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ปัญญานิยม (Cognitivism)
- เรื่องของการกระทําภายนอก (Behavior)
- เรื่องของภายในสติปัญญา (Internal
   Representtation)
- องค์ประกอบ (Parts)
- ภาพรวม (Wholes)
- ความรู้เป็นสิ่งที่ค้นพบและเรียกกลับขึ้นมาใช้ (Information a discovery / retrieval)
- ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นและสร้าง  ขึ้นมาใหม่ (Information as construction /reconstruction)
- จิตใจเป็นเสมือนโรงงาน (Mind is an assembly line)
- จิตใจเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ (Mind is a computer)
- ผลลัพธ์ (Outcomes)
- กระบวนการ (Process)

การประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอน
                สามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามความเชื่อของนักจิตวิทยาตามทฤษฎีกลุ่มนี้ มีความเชื่อว่า  มนุษย์มีความแตกต่างกัน   ทั้งในด้านความรู้สึกนึกคิด  อารมณ์ความสนใจและความถนัดในแต่ละคน      ดังนั้นในการเรียนรู้ก็ต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกัน   ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องเสนอเนื้อหาทั้งหมดสามารถเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์ ควรเสนอบางส่วน  ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์ การเสนอเนื้อหาของครูผู้สอน ควรมีความต่อเนื่อง  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น  การเสนอความคิดรวบยอดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
การนำทฤษฎีปัญญานิยมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การใช้เทคนิคการสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในแง่ของการเลือกเนื้อหาการเรียน กิจกรรมการเรียน  การควบคุมด้วยตนเองก่อน หลัง 
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory) ยิ้ม

ทิศนา แขมณี (2550 : 59) กล่าวว่า การ เรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูลและการดึงข้อมูล ออกมาใช้ในการกระทำและแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ยังได้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อ ให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ๆ คือ ทฤษฎีเกสตัลท์ ทฤษฎีสนาม ทฤษฎีเครื่องหมาย ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1. ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
2. ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
3. การให้การเสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4. ช่วยครูให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดี ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ หรืออัตมโนทัศน์ของผู้เรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
5. ช่วยครูในการปกครองชั้นเรียน และสร้างบรยากาศการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น